วรรณกรรมอีสาน เรื่อง ท้าวขูลูนางอั้ว
จัดทำโดย
นายคมสัน สิงหาวาสน์
ชั้นปีที่ 3 หมู่เรียนที่ 1 รหัสนักศึกษา
57210406128
คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย
เสนอ
อาจารย์วัชรวร วงศ์กัณหา
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
คำนำ
รายงานวรรณกรรมอีสาน เรื่องเรื่อง ท้าวขูลูนางอั้ว ผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการการสอน
ในรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น และยังทำให้ผู้ศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาหาความรู้ในเรื่องดังกล่าวและผู้อ่านสามารถนำมาประยุกต์ใช้และมีการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
รายงานฉบับนี้มีเนื้อหาเข้าใจง่าย
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ศึกษาทุกท่านจะได้รับประโยชน์ และความรู้จากการศึกษารายงานเล่มนี้ไม่มากก็น้อยหากมีข้อบกพร่องประการใด
ผู้จัดทำก็ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย
นายคม สัน สิงหาวาสน์
นายคม
ผู้จัดทำ
บทที่
1
สรุปเนื้อหาวรรณกรรมอีสาน
เรื่องท้าวขูลูนางอั้ว
ท้าวพรมสีเป็นกษัตริย์ครองนครกาสี
มีมเหสีชื่อนางพิมพากาสี มีโอรสชื่อท้าวขูลู
ส่วนท้าวปุตตาลาดเป็นกษัตริย์ครองนครกาย
มีมเหสีชื่อนางจันทา มีธิดาชื่อนางอั้ว
กษัตริย์ทั้งสองเป็นเพื่อนร่วมน้ำสาบานกันต่างให้สัญญากันว่าจะให้โอรสและธิดาแต่งงานเป็นทองแผ่นเดียวกัน
เมื่อท้าวขูลูเป็นหนุ่มแล้วมารดาจึงแต่งเครื่องบรรณาการให้เพื่อนำไปหมั้นหมายนางอั้ว
การพบกันครั้งนี้แม้จะเป็นครั้งแรกท้าวขูลูนางอั้วต่างก็พอใจรักใคร่กันจนลักลอบได้เสียกัน และต่างทราบว่าจะแต่งงานกันในไม่ช้า ท้าวขูลู
จึงลากลับเพื่อเตรียมการแต่งงาน
ในช่วงนี้เองขุนลางกษัตริย์ผู้ครองเมืองขอมได้มาหลงรักนางอั้วทั้งๆ
ที่ตนเป็นคนแก่แล้ว ได้ส่งของกำนัลมาให้มารดาของนางอั้วบ่อยๆ
จนกระทั่งนางพอใจออกปากยกลูกสาวคือนางอั้วให้ นางอั้วไม่ยอมจึงถูกมารดาดุด่าทุบตี
ท้าวขูลูได้ทราบข่าวจึงมาทวงสัญญา
มารดาของนางอั้วบ่ายเบี่ยงไม่ยอมยกให้แต่งงานกับท้าวขูลู แต่เพื่อไม่ให้เสียสัญญา
และเกิดศึกสงคราม นางจึงให้ทำพิธีเสี่ยงทายสายแนน ขุนลางเป็นผู้ชนะ ท้าวขูลูจึงกลับไปด้วยความเสียใจปานจะสิ้นชีวิต
แต่ก็พยายามมาหานางอั้วบ่อยๆ
ส่วนมารดานางอั้วนั้นได้รวบรัดจะให้นางอั้วแต่งงานกับขุนลางโดยเร็ว นางอั้วหาทางแก้ปัญหาชีวิตไม่ได้จึงผูกคอตาย
ก่อนตายได้อธิษฐานขอให้ได้ครองรักกับท้าวขูลูบนสวรรค์ ท้าวขูลูทราบข่าวการตายของนาง
จึงฆ่าตัวตายตามไปอีกคน
1. ที่มา
วรรณกรรมอีสาน เรื่องท้าวขูลูนางอั้ว เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านประเภทร้อยกรอง ซึ่งนักปราชญ์อีสานในสมัยโบราณได้แต่งไว้ แต่ไม่ทราบว่าแต่งขึ้นในสมัยไหน และใครเป็นผู้แต่ง เพียงแต่มีการสืบทอดและคัดลอกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
สำหรับต้นฉบับวรรณคดีอีสานเรื่องขูลูนางอั้ว แต่เดิมเป็นตัวธรรม มี 4 ผูก
จากนั้น คุณเจือ สืบแก้ว ได้ขอให้พระท่านลอกให้
โดยการจัดทำเป็นหนังสือของวัดน้ำคำแดง ต.เตย อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี
ซึ่งการคัดลอกนั้นปรากฏว่าผู้คัดลอกจะอ่านตัวธรรมไม่ค่อยได้ ข้อความบางแห่งจึงผิดพลาดไปจากความจริง
จากนั้น ท่าน ดร. ปรีชา พิณทอง จึงได้ชำระหรือปริวรรตใหม่
ซึ่งท่านได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณเจือ สืบแก้ว
ที่อนุญาตให้คัดลอกและเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ผู้ศึกษาจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและได้เลือกวิเคราะห์วรรณกรรมอีสาน
เรื่อง ขูลูนางอั้ว ฉบับของ ท่าน ดร. ปรีชา พิณทอง มาใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ผู้แต่ง ไม่ปรากฏ
ผู้เรียบเรียง ดร. ปรีชา พิณทอง
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ศิริธรรม
ปีที่พิมพ์ 2524
บทที่ 2
วิเคราะห์เนื้อเรื่อง
2.
การวิเคราะห์เนื้อเรื่อง
ชื่อเรื่อง
ชื่อเรื่อง
“ ท้าวขูลูนางอั้ว ” มีที่มาจากชื่อตัวละครเอกของเรื่อง ท้าวคูลู
ซึ่งเป็นตัวพระของเรื่อง
และ นางอั้ว
ซึ่งเป็นตัวนาง
ที่ปรากฏในตัววรรณกรรมพื้นบ้าน ซึ่งผู้แต่งเน้นให้เห็นความสำคัญของตัวละครเอกของเรื่อง
2.1 " วรรณกรรมอีสานท้าวขูลูนางอั้ว "
- ท้าว (น.) หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ , เจ้าแผ่นดิน, คำนำหน้าชื่อเจ้าเมือง, เช่นท้าวขูลู , ท้าวขุนลาง เป็นต้น (ราชบัณฑิตยสถาน , ๒๕๕๔ : ๕๖๖ )
- ขูลู เป็นชื่อเจ้าเมืองแห่งนครกาสี
เป็นบุตรของท้าวพรมสี กับนางแก้วเทวี เช่น “ แล้วจิ่งใส่ชื่อน้อยเจ้าอ่อนกุมารโฉมสัณฐ์คือ
ดั่งอินทร์ลงแต้มชื่อวาขูลูน่อย " (ปรีชา พิณทอง , 2524 : 2)
- นาง (น.)
เป็นคำประกอบหน้าคำเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น
นางอั้ว (ราชบัณฑิตยสถาน , ๒๕๕๔ :๖๑๙ )
- อั้ว
เป็นชื่อของลูกสาวเมืองกายนคร เป็นบุตรของท้าวปุตตาลาด กับนาจันทา เช่น “แล้วจิ่งหานามใท้กุมารีเป็นชื่ออั้วเคี่ยมน้อยงามย้อยดั่งเขียน” (ปรีชา พิณทอง , 2524 : 8)
ดังนั้น นิทานเรื่อง “ ท้าวขูลูนางอั้ว” จึงมาจากชื่อของตัวละครเอกของเรื่อง
คือ ตัวพระ และ ตัวนางของเรื่อง
ที่ปรากฏไว้ในตัวบท ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น
เพราะผู้แต่งต้องการเน้นย้ำให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญและมองเห็นถึงลักษณะพิเศษของตัวละครเอกทั้ง
2 ตัว
3. โครงเรื่อง
แก่นเรื่อง
ที่ใดมีรัก ที่นั้นจะไม่มีทุกข์ ถ้าหากเราเปิดใจฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
โครงเรื่อง
เปิดเรื่อง โดยการกล่าวถึงบ้านเมืองและการปกครองของเมืองกาสี
และ เมืองกายนคร
ซึ่งเป็นบ้านพี่เมืองน้อง
ผูกมิตรไมตรีต่อกัน
การดำเนินเรื่อง
๑. นางอั้วนั้นมีรูปโฉมที่งดงามเลื่องลื่อไปไปไกลยังหัวเมืองต่างๆ
๒. ขูลูเห็นนางอั้วแล้วหลงรัก
จึงได้ตามนางมาที่ปราสาท
ทั้งสองพลอดรักกัน
และได้เสียกัน
๓. ขูลูเดินทางกลับบ้านเมืองของตนเพื่อให้พระมารดามาสู่ขอนางอั้วให้แก่ตน
๔. ขุนลางเข้ามาเป็นมือที่สามระหว่างความรักของท้าวขูลูกับนางอั้ว
๕. นางอั้วถูกนางจันทราบังคับให้แต่งงานกับขุนลาง เพราะว่าขุนลางส่งเครื่องราชบริพานมาเป็นจำนวน มาก
๖. เมื่อนางจันทราทำผิดสัญญา
นางแก้วเทวีจึงแค้นใจมาก
จึงได้คิดที่จะทำสงครามเพื่อที่จะชิงตัวนางอั้วมาให้กับขูลูผู้เป็นบุตรชายของตน
๗. ท้าวขูลูกลับไปหานางอั้วและท้าทำสงคราม
ถ้าหากนางอั้วต้องตกเป็นเมียของขุนลาง
๘. นางอั้วเกิดคาวมทุกข์ใจมาก
จึงตัดสินใจผูกคอตาย ใต้ต้นจวงจันทน์ ในป่าอาถรรพ์
๙. เมื่อนางจันทาทราบข่าวว่านางอั้วตาย ก็รู้สึกผิดและเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก
๑๐. หลังจากนั้นนางจันทาก็ได้ส่งสาร
ไปยังเมืองกาสีนคร
เพื่อแจ้งให้ขูลูมาร่วมในพิธีงานศพของนางอั้ว
๑๑. เมื่อท้าวขูลูทราบข่าวเรื่องว่านางอั้วตาย จึงตัดสินใจใช้พระขรรค์เชือดคอตนเองตายตามนางอั้วไปในที่สุด
ปิดเรื่อง
ปิดเรื่องด้วยการคลายปมเหตุการณ์ที่ได้เคยทะเลาะกันของทั้งสองเมือง
หลังจากนั้นทั้งสองเมืองก็ได้กลับมารักใคร่และมีไมตรีต่อกันเหมือนเดิม
4. ตัวละคร
บุคลิกของแต่ละตัว
1) ขูลู เป็นผู้ชายที่มีรูปร่างหน้าตาดี มีเสน่ห์ ราวกับเทพบุตรเทวดา
เป็นผู้มีใจรักเดียว และซื่อสัตย์ในความรัก ยอมตายตามคนที่รักได้อย่างกล้าหาญ
ดังปรากฏในเนื้อเรื่องดังนี้
2) นางอั้ว เป็นผู้หญิงที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม อรชอนอ้อนแอ้น ผิวพรรณเปล่งปลั่งสวยงาม เป็นที่หมายปองของชายต่างเมือง
มีนิสัยหยิ่งทระนง เชื่อมั่นในความรัก รักใครรักจริง
รักเดียวใจเดียว
และเป็นหญิงสาวที่มีความกล้าหาญยอมเสียสละชีวิตเพื่อให้ปัญหาทุกอย่างจบลง
ดังปรากฏในเนื้อเรื่อง ดังต่อไปนี้
3) ขุนลาง เป็นชายมีอายุ
ร่ำรวยเงินทอง ช่างเอาอกเอาใจ และหลงรักนางอั้วถึงขั้นสละทุกอย่างแทนได้
4) นางจันทา เป็นพระมารดาของนางอั้ว
มีลักษณะนิสัยเจ้าคิดเจ้าแค้น หลงระเริงในทรัพย์สิน ไม่ยอมฟังเหตุผลของลูก ดังปรากฏตัวย่างในเนื้อหา ดังนี้
5) นางแก้วเทวี เป็นพระมารดาของท้าวขูลู
มีนิสัยตระหนี่ขี้เหนียว เป็นผู้เชื่อมั่นในสัจจะสัญญา รักษาคำพูดของตนเอง
5.
การใช้ภาษา
ภาษาถิ่นที่มักใช้เป็นภาษาถิ่น 2 ลักษณะ คือ
1) เขียนให้มีเลียงใกล้เคียงกับภาษาถิ่น
2)
ใช้คำศัพท์ที่ใช้ในท้องถิ่นหรืออยู่ในชีวิตประจำวัน มีทั้งคำนาม สรรพนาม คำกิริยา
คำวิเศษณ์ และคำเชื่อม
คำภาษาถิ่นจะเป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบว่าวรรณกรรมที่พบเป็นวรรณกรรมของถิ่นใด
ปกติภาษาถิ่นต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน 2 ระดับ คือ
ระดับหน่วยเสียงและระดับคำความแตกต่างในระดับโครงสร้างประโยคมีน้อยมาก
บทที่ 3
ความโดดเด่นของเนื้อหา
1.
ความโดดเด่น
วรรณกรรมอีสานเรื่อง
ท้าวขูลูนางอั้ว เป็นวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงและโด่งดังมาก
โดยเฉพาะความโดดเด่นทางด้านเนื้อหา เพราะเป็นเรื่องโศกนาฏกรรมรักที่ผิดหวัง หากดูผิวเผินอาจจะมองว่า เรื่อง ขูลูนางอั้ว
เป็นเรื่องของคนสิ้นคิด แต่ถ้าวิเคราะห์เนื้อเรื่องอย่างละเอียดเเล้ว
จะทราบว่าเนื้อเรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องราวความรักที่แสนจะเจ็บปวดเกินพรรณนา
เป็นความเสียสละและความกล้าหาญของผู้หญิงคนหนึ่งที่สามารถปริดชีพตัวเองได้เพียงเพราะคำว่า
"รัก" คำเดียว และเรื่องราวทั้งหมดจึงกลายเป็นที่มาของคำว่า "ขูลู นางอั้ว ตำนานรักอมตะของภาคอีสาน"
ที่ถูกสืบทอดเล่าขานกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
7.
ฉากและสถานที่
7.1 ฉากหลัก
- ต้นจวงจันทน์ เป็นต้นไม้สำคัญที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง
ซึ่งจะมีอยู่ 2 ต้น ต้นแรกเป็นของพระอินทร์ปลูก นางอั้วจึงฆ่าตัวตายใต้ต้นนี้ไม่ได้
ส่วนต้นที่สองเป็นต้นไม้ที่พวกผีพลายปลูก
นางอั้วจึงขออ้อนวอนให้ต้นจวงจันทน์โน้มกิ่งลงมา จากนั้นนางจึงฆ่าตัวตายได้สำเร็จ ซึ่งลักษณะของต้นจวงจันทน์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง มีดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างต้นจวงจันทน์ที่พระอินทร์ปลูก
บ่มีพัดป่าไม้
คนิงน้อยหน่อเมือง
อันหนึ่งพระอาทิตย์ย้าย พ้นเขตเขาทอง
ดูตระการบด
จวงหอมอินทร์ปลูก
นางจิ่งหักดอกไม้
เทียมพริอมคู่กัน
ตัวอย่างต้นจวงจันทน์ที่ผีพลายปลูก
นางบ่มีนานแท้
ไปเถิงเฮวฮีบ
เถิงที่ไม้
จวงดั้วยอดยาว
ที่นั้นมีพลานกว้าง
สวนเพียงเฮียงฮาบ
เคมฝั่งน้ำ
วังกว้างส่องใส
นางแพงน้าว
มาลาเฮวฮีบ
เทียนคู่พร้อม
ยกไหว้กล่าวกลอน
- สวนอุทยาน เป็นที่พักของนางอั้วซึ่งพระบิดาของนางอั้วเป็นผู้สร้างให้ก่อนจะสิ้นใจ สวนอุทยานแห่งนี้อุดมไปด้วยความสวยงามของพืชพรรณนานาชนิด
ดังปรากฏในตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง
พระก็จำเขาสร้าง อุทยานสวนดอก
สัพพะสิ่งไม้
ในหั้นดอกบาน
มีทังสระใหญ่กว้าง
ดวงดอกบูชา
บัวคำบาน
แบ่งกอสะพังกว้าง
7.2 ฉากรอง
- เมืองกาสี เป็นบ้านเมืองของท้าวขูลูซึ่งขึ้นปกครองบ้านเมืองแทนพระบิดาที่สิ้นชีพไป
ซึ่งเมืองกาสีนั้น ถือว่าเป็นเมมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านข้าวปลาอาหารนานาชนิด
- เมืองกายนคร เป็นบ้านเมืองของอั้ว
ซึ่งนางได้อยู่กับพระมารดาตามลำพังเพราะพระบิดาได้สิ้นชีพจากไป
บทที่ 4
การนำไปประยุกต์ใช้
8.
การนำไปประยุกต์ใช้
8.1 การพัฒนาต่อยอดเป็นหมอลำ
- ลำพื้น นิทานเรื่องขูลูนางอั้ว (ตอน ขูลู)
- หมอลำเรื่อง ขูลูนางอั้ว คณะอีสานอินคอนเสิร์ต
- หมอลำเรื่อง ขูลูนางอั้ว คณะระเบียบวาทะศิลป์
- หมอลำเรื่อง ขูลูนางอั้ว คณะขวัญใจกาฬสินธุ์
8.2 การสร้างบทละครเรื่อง ขูลู-นางอั้ว โดยใช้ขนบละครพันทาง
8.3 คณะสรภัญญะ เรื่องขูลูนางอั้ว บ.โคกนิยม ต.วังชมภู อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ
8.4 ละครเวทีประเพณีภาษาไทยมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เรื่อง
อั้วเคียม
Infographic
: วรรณกรรมอีสานท้าวขูลูนางอั้ว
นายคมสัน สิงหาวาสน์
ชั้นปีที่ 3 หมู่ที่ 1
สาขาวิชาภาษาไทย
รหัส 57210406128
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น